2015-04-10 05:58:23

งานประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop on the UN Electronic Communications Convention: a legal tool to promote cross-border electronic commerce

สาระสำคัญงานประชุมเชิงปฏิบัติการ

Workshop on the UN Electronic Communications Convention:

a legal tool to promote cross-border electronic commerce

 

 

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ETDA) ร่วมกับคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL) และคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียแปซิฟิก (ESCAP) จัดงาน Workshop on the UN Electronic Communications Convention: a legal tool to promote cross-border electronic commerce เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุมสหประชาชติ (UNCC) กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายที่สนับสนุนและส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนตามอนุสัญญาว่าด้วยการใช้การติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาระหว่างประเทศที่กำหนดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations Convention on The Use of Electronic Communications in International Contracts หรือ UN e-Communications Convention) (Convention) และแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวทั้งไทยและต่างประเทศ

 

โดยในที่ประชุมได้มีการพูดคุยหัวข้อ ดังนี้

  1. แนวคิด หลักการพื้นฐานเพื่อรองรับอนุสัญญาว่าด้วยการใช้การติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาระหว่างประเทศที่กำหนดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations Convention on The Use of Electronic Communications in International Contracts หรือ UN e-Communications Convention) (Convention) ซึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อรองรับการทำการค้าระหว่างประเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อเสริมหลักการทางกฎหมายด้านการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการกำหนดไว้ในกฎหมายแม่แบบ (Model Law) ให้ครอบคลุมถึงการทำสัญญาในทางระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น
  2. ประสบการณ์ประเทศอื่น ๆ ในการตรากฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับ Convention
  3. การเตรียมความพร้อมของไทย เพื่อรองรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน
 

ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ ดังนี้

 

Panel One: Regional perspectives

>> Mr. Luca Castellani เลขาธิการคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติช (UNCITRAL)

เอกสารประกอบ 

 

>> Dr. Hong Xue ผู้อำนวยการ Institute for Internet Policy & Law (IIPL) แห่ง Beijing Normal University

เอกสารประกอบ 

 

>> Ms. Nguyen Dieu Huong กองความร่วมมือระหว่างประเทศ แห่ง Vietnam E-Commerce and Information Technology Agency (VECITA)

เอกสารประกอบ 

 

 

Panel Two: Thai national perspectives

>> นางสุรางคณา  วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

เอกสารประกอบ 

 

>> นายชวลิต  อัตถศาสตร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  (ด้านนิติศาสตร์) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

เอกสารประกอบ 

 

>> ดร.ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

เอกสารประกอบ 

 

 

Roundtable on way forward

>>Mr. Luca Castellani เลขาธิการคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ  (UNCITRAL)

>>Mr. Yann Duval หัวหน้าส่วนงานการอำนวยความสะดวกด้านการค้า ฝ่ายการค้าและการลงทุน คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียแปซิฟิก (ESCAP)

>>Mr. Francis Lopez ประธานบริษัท InterCommerce Network Service และประธานกรรมการ PAA

>>ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฐ์  วิศิษฐ์สรอรรถ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม และประธานคณะอนุกรรมการนโยบายกฎหมาย คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

 

 

สรุปสาระสำคัญโดยสังเขป ดังนี้

 

UNCITRAL

  1. บทบาทของคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL) คือ การพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งจัดทำ Model Laws (กฎหมายแม่แบบ) Convention (อนุสัญญา) โดยอนุสัญญาระหว่างประเทศต้องมีความสอดคล้องและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (uniformity) เพื่อสนับสนุนการค้าข้ามพรมแดน
  2. Convention จะมีประสิทธิภาพได้ต่อเมื่อมีการรับไปปรับใช้ในทุกประเทศ เพื่อสนับสนุน
    e-Commerce โดยเฉพาะ B2B หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องสนับสนุนและมีความเป็นเอกภาพ (ทางกฎหมาย)
  3. ในบางประเทศแม้ไม่ได้ลงนามให้สัตยาบันใน Convention แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายประเทศตนเพื่อให้สอดคล้องกับ Convention นี้ ดังนั้น ณ ปัจจุบันนี้ Convention นี้ ถือเป็นมาตราฐานโลกสำหรับ e-Commerce

จีน

  1. วางแผนและเตรียมความพร้อมหลายด้าน ทั้งการปรับปรุงกฎหมายอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาถึงห้าปี และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานควบคู่ไปด้วย  ภาครัฐ ภาคเอกชนต่างให้ความร่วมมือและสนันสนุนอย่างเต็มที่
  2. เป้าหมายการพัฒนากฎหมายของจีน เพื่อรองรับ Convention สรุปได้ดังนี้ 

-    กฎหมายต้องยืดหยุ่นสอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ มีความชัดเจนไม่ขัดแย้งกัน และไม่กีดกันการประกอบธุรกิจอื่น

-    ต้องสนับสนุนการไหลเวียนของข้อมูล เพื่อแชร์และเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน

-    ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรองรับธุรกิจ e-Commerce

-    รัฐบาลต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างน้อยเพื่อสนับสนุนและกำหนดแนวทางเศรษฐกิจโดยต้องร่วมมือกับผู้มีส่วนร่วมในหลากหลายสาขา และรัฐบาลต้องสนับสนุนด้านต่าง ๆ เช่น ภาษี เป็นต้น

 

เวียดนาม

  1. จากผลสำรวจประชากรในเวียดนามถึง 80% ทำธุรกิจผ่านทางอีเมล แต่ 70% ยังคงลงนามสัญญาผ่านทางกระดาษ
  2. อยู่ในระหว่างการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย โดยเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เพื่อรองรับ e-Commerce ตามกรอบ Convention และมุ่งหมายที่จะนำ Convention ไปปรับใช้เรื่อง e-Contract ซึ่งยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น
  3. แต่บางมาตราอยู่ระหว่างแก้ไขซึ่งต้องใช้เวลา เช่น ประเด็นกฎหมายเรื่องการทำสัญญา เนื่องจากมีความขัดกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเวียดนามเอง ประเด็นภาษา    
  4. ปัญหาเรื่องการเข้าร่วม Convention มีดังนี้ 

-    ไม่มีทรัพยากรบุคคลที่เพียงพอ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ e-Contract ยังน้อย

-    ประสบการณ์ในการจัดการข้อพิพาทที่ยังไม่เพียงพอ

-    Convention ขัดแย้งกับกฎหมายในประเทศ

 

ไทย

  1. มุมของการเตรียมความพร้อมของไทย ในการรองรับ Digital Economy โดยการจัดทำชุดกฎหมายเพื่อสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งการปรับแก้กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ก็เป็นหนึ่งมาตรการทางกฎหมายที่รองรับการดำเนินงานเรื่องนี้
  2. มุมของทนายความผู้ปรับใช้กฎหมาย เห็นถึงความก้าวหน้าของมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทย จากเดิมที่ไม่รองรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การทำสัญญาทาง Telex (โทรพิมพ์) ซึ่งในสมัยนั้นศาลไม่ถือว่าเป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีผลทางกฎหมาย ต่อมาภายหลังจากที่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มีผลบังคับใช้แล้ว ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาฎีกาในปี พ.ศ. 2556 ที่รับรองความมีผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นและก้าวสำคัญอันช่วยผู้ใช้งานมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น
  3. มุมของภาคธนาคาร หนึ่งในข้อติดขัดของการบังคับใช้กฎหมายธุรกรรมฯ ได้แก่ การที่หน่วยงานยังต้องเก็บเอกสารกระดาษควบคู่ไปกับการทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ด้วย เนื่องจาก ความไม่มั่นใจและไม่เข้าใจในกฎหมาย ดังนั้น จึงต้องการให้กฎหมายธุรกรรมฯ มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้งาน
  4. แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยยังไมได้ลงนามให้สัตยาบัน Convention ก็ตาม แต่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้รับรองหลักเกณฑ์ของทั้ง UNCITRAL Model Law on e-Commerce และ UNCITRAL Model Law on e-Signature รวมทั้ง ร่าง พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ก็ได้ปรับแก้กฎหมายเพื่อรองรับ Convention อยู่แล้ว
  5. ประเด็นอื่น ๆ ที่ต้องให้ความสนใจ เช่น เรื่อง Bitcoin และ Uber App เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
  6. ทั้งนี้ การได้เห็นความตั้งใจที่จะร่วมกันทำงานของภาครัฐและเอกชน ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการส่งเสริมให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.unescap.org/events/workshop-un-electronic-communications-convention-legal-tool-promote-cross-border-electronic

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ICT LAW CENTER  ขอเชิญร่วมทำแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าถึงข้อมูล ของ สพธอ.

    * ท่านมีความพึงพอใจในช่องทางการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับร่างกฎหมาย/คู่มือ/แนวปฏิบัติ ที่ สพธอ. จัดเตรียมไว้ มากน้อยเพียงใด