2015-07-10 17:08:49

Check ก่อน Share… ไม่เสี่ยงผิดกฎหมาย

ในยุคนี้ Social Network ทำให้การรับรู้ข่าวสารและส่งต่อข่าวรวดเร็วอย่างมาก แต่ความรวดเร็วนี้อาจทำให้มีข้อมูลหรือข่าวมากมายที่มีการส่งต่อเพียงแค่กดแชร์โดยไม่ได้รับการตรวจสอบ หลายคนเมื่อได้รับข่าว รูปภาพหรือข้อมูลเรื่องใด ๆ มา ก็เชื่อและกดแชร์ในทันที โดยไม่ได้ตรวจสอบก่อนว่าข่าวดังกล่าวนั้นจริงหรือไม่ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้คุณกำลังกลายเป็นผู้ร่วมเผยแพร่ข่าวลวงโดยไม่รู้ตัว

ร่วมวงเสวนา

จากประเด็นดังกล่าว สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA (เอ็ดด้า) ICT Law Center ร่วมกับ ThaiCERT จึงเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและพูดคุยหัวในข้อ Check ก่อน Share: ข้อมูลบนโซเชียลมีเดียฯ เมื่อวันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม 2558 ณ ห้อง Open Forum ชั้น 21 ETDA

ผู้อำนวยการ ETDA - สุรางคณา วายุภาพ กล่าวว่า มีความเป็นห่วงสถานการณ์บนโลกออนไลน์และโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลลักษณะ “ข่าวลือ ข่าวกระแส” หากผิดพลาดไปจะส่งผลกระทบเสียหายในวงกว้าง โดยเฉพาะข่าวลือที่อาจสร้างความเกลียดชังให้เพิ่มขึ้น พร้อมย้ำถึงข้อควรระมัดระวังและตระหนัก คือ ให้ตรวจสอบก่อนส่งต่อหรือเช็คข้อมูลก่อนแชร์ หากไม่แน่ใจข้อมูลจากโซเชียล หรือแหล่งที่มา ไม่ควรแชร์หรือส่งต่อในทันที

ร่วมวงเสวนา

ดร.สรณันท์ จิวะสุรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ETDA เสริมว่า สังคมไทยควรเปลี่ยนแนวคิดเป็น เช็คก่อนแชร์ แม้การตรวจสอบข้อมูลหรือภาพจะทำได้ยากกว่าการแชร์ซึ่งทำง่ายกว่า แต่เราสามารถใช้ search engine ทุกเจ้า ตรวจสอบความเหมือนของภาพนั้น ๆ ได้ ว่าเคยได้รับการโพสต์หรือมีแหล่งที่อยู่อื่น ๆ มีวันและเวลาบอก ดังนั้น ต่างชาติจึงมีวลี “Stop Think Connect” แต่ไทยเรา “Stop Think Share” ซึ่งควรจะมีเช็คหรือการตรวจสอบก่อนด้วย เพื่อลด viral message หรือการส่งต่อข้อความที่ผิดเพี้ยน

ร่วมวงเสวนา

ขณะเดียวกันผู้ที่โพสต์ แชร์ หรือไลค์ข้อความ ล้วนมีความผิดด้วยกันทั้งหมด สอดคล้องกับคำอธิบายของ พงศกร มาตระกูล กก.ผจก. ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและหัวหน้าทีมทนายความ บจ.สแตรนด์ แอนด์ เกรท จอร์จ อินเตอร์เนชั่นแนล กรณีแชร์ข้อความอันเป็นเท็จในโซเชียลแต่ได้ลบแล้วจะผิดไหม? ยืนยันว่า “ผิด” เพราะความผิดสำเร็จแล้ว เป็นความผิดตาม มาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งเป็นคดีอาญา ยอมความไม่ได้ ส่วนการตัดต่อภาพเข้าข่ายผิดมาตรา 16 แต่ยอมความได้ ยกตัวอย่าง การแชร์ข้อมูลผิดแล้วลบ เหมือนเราเอานาฬิกาเพื่อนไปซ่อนเพื่อจะแกล้งเฉย ๆ แต่เพื่อนไปแจ้งความว่าของหาย แม้เราจะเอามาคืนแล้วบอกว่าไม่ได้ขโมย ก็ถือว่าผิดฐานลักทรัพย์แล้ว จึงต้องพึงระวังในการส่งต่อข้อมูลในโซเชียล และฝากสื่อมวลชนให้ระมัดระวังการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับบุคคลในคดีความต่าง ๆ เพราะหากคดียังไม่ถึงที่สุดก็ยังถือว่าเป็น “ผู้บริสุทธิ์” ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรมกับบุคคลดังกล่าว

ติดตามความคืบหน้าของชุดร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล และการพูดคุยในประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจของเวที ICT Law Center Open Forum ซึ่งในวันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคมนี้จะพูดคุยในหัวข้อ “แนวทางการจัดการข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่อาจใช้เป็นหลักฐานในคดี (Handling Electronic Data That May be Used as Evidence)” ได้ที่ https://www.etda.or.th และ http://ictlawcenter.etda.or.th

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ICT LAW CENTER  ขอเชิญร่วมทำแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าถึงข้อมูล ของ สพธอ.

    * ท่านมีความพึงพอใจในช่องทางการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับร่างกฎหมาย/คู่มือ/แนวปฏิบัติ ที่ สพธอ. จัดเตรียมไว้ มากน้อยเพียงใด