2015-02-03 16:45:25

ETDA เปิดบ้านถกประเด็น…คนไทยเห็น privacy สำคัญจริงหรือ? ในเมื่อยอมแลกข้อมูลส่วนตัวกับกาแฟเพียงแก้วเดียว!

ETDA เปิดบ้านถกประเด็น…คนไทยเห็น privacy สำคัญจริงหรือ? ในเมื่อยอมแลกข้อมูลส่วนตัวกับกาแฟเพียงแก้วเดียว! 

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2558 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) โดย ICT Law Center เปิดบ้านพูดคุยในหัวข้อ “‘การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล’ เกือบ 17 ปีที่รอคอย ทำอย่างไรให้เป็นธรรมและไม่เป็นภาระเกินไป…ในวันที่เราได้รับจดหมายโฆษณามากกว่าจดหมายจากคนรู้จัก…ในวันที่เรายอมแลกข้อมูลส่วนตัวกับกาแฟแก้วเดียวเสมอ” เพื่อผลักดันให้ร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ดำเนินการมาถึง 17 ปี กลายเป็นกลไกการสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างแท้จริง

การที่ทุกวันนี้ยังมีคนไทยที่ไม่ให้ความสนใจกับการแชร์ข้อมูลโดยยอมจะแลกข้อมูลส่วนบุคคลกับกาแฟแก้วเดียว จนทำให้ได้รับจดหมาย อีเมล เอสเอ็มเอส ที่เป็นโฆษณามากกว่าที่ได้รับจากคนรู้จัก และข้อมูลที่แชร์กันไหลไปต่างประเทศผ่านผู้ให้บริการต่าง ๆ รวมถึงผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ จนมีคำถามว่าประเทศไทยยอมเป็นอาณานิคมทางอินเทอร์เน็ตแล้วหรือ? ดังนั้นการที่ภาครัฐจะต้องเข้ามาสร้างกฎกติกาในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

แม้จะมีการริเริ่มผลักดันในเรื่องการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลมาตั้งแต่ พ.ศ. 2539 และเห็นชอบให้จัดทำร่างกฎหมายใน พ.ศ. 2541 แต่ทุกวันนี้กฎหมายนี้ก็ยังไม่ผ่านออกมาใช้บังคับ ทั้ง ๆ ที่ส่งผลต่อการจัดอันดับของประเทศในการทำธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่ประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญ การที่ประเทศไทยไม่มีกฎหมายกลางในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้ประเทศไทยถูกมองว่าล้าหลัง ซึ่งจำเป็นต้องร่วมมือกันผลักดันและหาจุดสมดุลร่วมกัน

นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า การจัด Open Forum ขึ้นนี้เป็นความพยายามของ ETDA ที่จะรับฟังความเห็น รับทราบแนวคิด และแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสะท้อนความคิดของภาคส่วนต่าง ๆ ไปยังรัฐบาล เพื่อให้ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ที่จะเกิดขึ้นเป็นรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลได้อย่างแท้จริง

รศ. คณาธิป ทองรวีวงศ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น วิทยากรในหัวข้อ “หลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายคุ้มครองส่วนบุคคล” ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิทธิส่วนบุคคล กล่าวถึงความจำเป็นของร่างกฎหมายนี้ว่า เพราะกฎหมายไทยที่มีในปัจจุบันไม่สามารถคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในแง่ข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างเพียงพอ หลาย ๆ ประเทศถ้าจะทำการค้าด้วย ต้องมีการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในด้าน privacy เพื่อดูแลข้อมูลส่วนบุคคลด้วย เพราะหากไม่ตระหนักในเรื่องนี้ดีพอ กฎหมายที่ออกมาก็จะมีปัญหาทางด้านการบังคับใช้และภาคปฏิบัติ ทุกวันนี้ร้านค้าต่าง ๆ ต้องกรอกข้อมูลมากมายกับการสมัครสมาชิก ฐานข้อมูลพวกนี้อยู่ที่ไหน มีใครคุ้มครองข้อมูล และผู้บริโภคน้อยคนมากที่จะอ่านเอกสารการยินยอมเปิดเผยข้อมูล หลักพื้นฐานของกฎหมายตัวนี้คือ “การยินยอม” ทั้งในขั้นเก็บข้อมูล (Collection) ขั้นประมวลผล (Process) และขั้นเปิดเผยหรือการเผยแพร่ (Disclosure) ซึ่งควรจะมีการขอยินยอมทั้ง 3 ขั้น และในร่างกฎหมายควรจะมีบทบัญญัติเสริมอย่างเช่นเกาหลี คือ ผู้ประกอบธุรกิจจะปฏิเสธการให้บริการหรือสินค้า ด้วยเหตุผลเพียงเพราะผู้บริโภคไม่ยินยอมให้ข้อมูลไม่ได้

ในช่วงเสวนา นายไพศาล ลิ้มสถิตย์ กรรมการศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า การที่ข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนลูกค้าไปอยู่ในภาคธุรกิจเป็นจำนวนมาก การมีกฎหมายกลางขึ้นมาเพื่อวางเกณฑ์ในการเก็บรักษา การเผยแพร่ข้อมูล ที่มีความน่าเชื่อถือ ก็จะทำให้ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ e-Commerce หรือธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ผู้บริโภคก็เกิดความมั่นใจว่าข้อมูลที่ให้ไปได้รับการคุ้มครอง เช่น ข้อมูลทางการเงินหรือข้อมูลที่เป็นเลข ID ต่าง ๆ ทำให้เกิดธุรกิจที่ดี และกันเอาธุรกิจที่ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ออกไป โดยร่างกฎหมายใหม่นี้ ไม่ได้ขัดกับกฎหมายสากล ไม่มีปัญหาเรื่องหลายมาตรฐาน เพราะไม่ได้แบ่งแยกระหวางการคุ้มครองข้อมูลภาครัฐและเอกชนออกจากกัน แต่เรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีการมอบอำนาจนั้นจะต้องมีประเด็นที่ถกเถียงกันต่อไป

ดร.อธิป อัศวานันท์ จากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกฎหมายนี้ในภาคธุรกิจว่า การมีเรื่องนี้เข้ามานั้นภาคธุรกิจยินดี แต่ร่างกฎหมายที่ใช้เวลานานกว่าที่จะสมบูรณ์ของไทยอยากให้พิจารณาว่าสอดคล้องกับสภาวะปัจจุบันหรือไม่ เนื่องจากข้อมูลสารสนเทศคืออินเทอร์เน็ตโดยส่วนใหญ่ออกไปต่างประเทศ โซเชียลมีเดียก็ใช้ Facebook ส่วน Search Engine ก็ใช้ Google ด้าน e-Commerce ก็ไม่แข็งแกร่งสู้ Amazon ได้ เรามอบอาณานิคมทางอินเทอร์เน็ตให้ต่างประเทศไปหมด กฎหมายไทยจึงต้องครอบคลุมและเน้นเรื่องของการไร้พรมแดนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมด้วย

ดร.นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในประเด็นข้อมูลสุขภาพว่า ร่างกฎหมายนี้มีหลักการของการคุ้มครองที่ดีอยู่แล้ว แต่แน่นอนย่อมมีปัญหาที่นำมาถกเถียงเพื่อรับฟังกัน ที่ผ่านมาแม้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งขาติ พ.ศ. 2550 มีข้อที่คุ้มครองข้อมูลสุขภาพระดับหนึ่ง คือห้ามไปเปิดเผยโดยที่เจ้าของข้อมูลไม่อนุญาต ถ้าละเมิดก็มีความผิดทางอาญา ซึ่งกล่าวถึงเฉพาะการเปิดเผยข้อมูล ไม่ใช่การเก็บ หรือการใช้ตามหลักสากล และไม่มีการระบุในรายละเอียดว่ากรณีใดให้ใช้ หรือไม่ใช้อย่างไร ซึ่งเป็นปัญหาในทางปฏิบัติในทางบริการทางสุขภาพ เช่น หากมีการส่งต่อข้อมูลคนไข้จะมีปัญหาในกรณีคนไข้ไม่รู้ตัว (ไม่ได้อนุญาต) แต่ในทางการแพทย์ต้องเร่งรักษาก่อน สิ่งสำคัญ คือ กฎหมายต้องคิดให้รอบและทำให้ผู้ปฏิบัติไม่สับสน เพื่อให้เกิดหลักการที่ดีในการทำงาน ต้องหาสมดุลระหว่าง public good และ private right ถ้ากฎหมายไม่ขัดแย้งกันเองกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ยกระดับมาตรฐานของ privacy ในสังคมได้

การพูดคุยครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม จากภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม นักศึกษาและประชาชน รวมทั้งสื่อมวลชน อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดสดผ่านเว็บไซต์ http://ictlawcenter.etda.or.th/ (ปัจจุบันยังสามารถเข้าไปชมคลิปในวันนั้นทางเว็บไซต์นี้ได้) โดยฝากประเด็นที่น่าสนใจ เช่น

  • ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริง เพราะในภาคธุรกิจ (ข้ามชาติ) มีนโยบายว่า ไม่ว่าอยู่ไหนก็ตามก็อยากปฏิบัติตามข้อกำหนด (requirement) ของที่นั้น ๆ โดยประสบการณ์ของลูกค้า (user experience) และความคาดหวังของลูกค้า (user expectation) เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงก่อน
  • นิยามต่าง ๆ ที่กว้าง หรือไม่ได้ให้ความหมาย ซึ่งอาจจะมีผลต่อการลงทุนและปิดกั้นนักลงทุน จากต่างประเทศ
  • การใช้คำกว้างมากทำให้กังวลในมิติเสรีภาพ เพราะกำลังแลกความปลอดภัยในปัจจุบัน กับผลประโยชน์ในอนาคตหรือไม่
  • ร่างกฎหมายไม่ได้แบ่งแยกการนำไปใช้อย่างชัดเจน ถ้าคนไม่ได้ทำเพื่อการพาณิชย์ มีการปกป้องเขาหรือไม่



















 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ETDA คลายปมปัญหาซื้อขายออนไลน์ หวังดันกราฟอีคอมเมิร์ซไทยพุ่งทะยาน

    เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2558 ICT Law Center ร่วมกับสำนักส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แห่ง ETDA เชิญพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มาพูดคุยในหัวข้อ “กะเทาะเปลือกความคิด วิธีรับมือกับปัญหาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทย สู่ความเป็นสังคมออนไลน์ที่มั่นคงปลอดภัย” ซึ่งเป็นการร่วมแชร์ประสบการณ์และปัญหาที่ต้องเผชิญของแต่ละฝ่าย รวมทั้งวิธีการแก้ไขที่ผ่านมา

  • ETDA และ BSA ห่วงภัยซอฟต์แวร์เถื่อน ล้วงข้อมูลส่วนบุคคล

    เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2558 สพธอ. และ ThaiCERT ร่วมกับ BSA | The Software Alliance เปิดเวทีสนทนา “การใช้ซอฟต์แวร์อย่างถูกต้อง วิธีง่าย ๆ สำหรับคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ห่วง! ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการโจมตีโดยอาชญากรไซเบอร์ซึ่งอาศัยช่องโหว่ของซอฟต์แวร์เถื่อนสูงมาก แม้ตัวเลขการละเมิดจะลดลงไปบ้าง แต่ก็ยังเป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ และหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

  • ETDA ถกเข้ม! 4 แนวทางการให้ความยินยอมข้อมูลส่วนตัว แค่ไหนถึงเป็นธรรม

    เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงไอซีที โดย ICT Law Center เปิดประเด็นเสวนา “ความยินยอมกับสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล - ยอมให้เก็บ ยอมให้ใช้ ยอมอย่างไรให้เป็นธรรม ไม่จำยอม” วงเสวนาชี้ไทยยังไม่มีกฎหมายกลางเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายที่จะออกมาควรให้ความสำคัญกับสิทธิส่วนบุคคล

  • ETDA จับมือ MPA ชี้ภัยเว็บเถื่อน พบโฆษณาสื่อลามก การพนัน แซงเพื่อนบ้าน

    เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2558 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงไอซีที โดย ICT Law Center ร่วมกับ สมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา(Motion Picture Association (THAILAND)) หรือ MPA เปิดหัวข้อเสวนา “High Risk Advertising and the Piracy Ecosystem: Its Impact on the Youth in the Digital Age ผลกระทบของการโฆษณา (ไม่ดี)บนอินเทอร์เน็ตต่อเยาวชนในยุคดิจิทัล”

  • ETDA กางหลักการ ร่าง กม.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่แก้ไข เพิ่มเติม ปรับปรุง ตอบโจทย์แล้วหรือไม่?

    เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2558 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงไอซีที โดย ICT Law Center เปิดประเด็นเสวนา “หลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการปรับเปลี่ยน - หลังรับฟังเสียงสะท้อน...ใช่...หรือ...ไม่ใช่?” ภายหลังการเปิดเผยสาระสำคัญของร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา นำมาสู่การร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย

  • ETDA จับมือ เครือข่ายพลเมืองเน็ต ถกประเด็น “ข้อมูลผู้ป่วย” ปิดอะไร? เปิดตอนไหน?

    เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงไอซีที โดย ICT Law Center และ “เครือข่ายพลเมืองเน็ต” (Thai Netizen Network) ยกประเด็นเรื่องดูแลข้อมูลสุขภาพอย่างไร เพื่อให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุด วงเสวนาลงความเห็น ข้อมูลทางการแพทย์มีความสำคัญสูงและมีความซับซ้อนต่างจากข้อมูลอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่ในทางตรงกันข้ามก็ต้องเปิดเพื่อให้แพทย์ทำงานได้ด้วย จึงจำเป็นต้องกำหนดข้อยกเว้นที่เหมาะสม

  • ครั้งที่ ๓ หัวข้อ “ถ้า Critical Infrastructure บ้านเราถูกเจาะระบบ เราจะรับมือและเคลียร์ปัญหานี้ร่วมกันอย่างไร”

    การจัด Open Forum ในครั้งนี้มีขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับระบบ Critical Infrastructure ที่สำคัญของประเทศ เช่น ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้า หรือระบบการชำระเงินของภาคธนาคาร ถึงความพร้อมในการดูแล Critical Infrastructure ให้มีความปลอดภัย ซึ่งภาคเอกชนส่วนใหญ่ได้แสดงถึงความพร้อมในการจัดการและรับมือกับภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบให้บริการที่ตนดูแล อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ภาคเอกชนเห็นตรงกันว่าจำเป็นต้องมีการพัฒนาหรือปรับปรุงเพื่อให้การดูแล Critical Infrastructure ของประเทศไทยมีความพร้อมมากยิ่งขึ้น

  • สรุปประเด็นสำคัญจากงาน Open Forum : ICT Law Center under ETDA ภายใต้หัวข้อ “ร่วมปฏิรูปกฎหมาย ร่วมให้ความเห็น เพื่อเดินหน้าประเทศไทย”

    สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. โดย ICT Law Center จัดงาน Open Forum: หัวข้อ “ร่วมปฏิรูปกฎหมาย ร่วมให้ความเห็น เพื่อเดินหน้าประเทศไทย” เมื่อวันเสาร์ที่ 24 มกราคม 2558 เวลา 10.00 น. เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย 10 ฉบับที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการให้ความเห็นชอบเมื่อไม่นานมานี้

  • [คลิปและเอกสารประกอบการสัมมนา] Open Forum : ICT Law Center under ETDA ร่วมปฏิรูปกฎหมาย ร่วมให้ความเห็น เพื่อเดินหน้าประเทศไทย

    [เอกสาร] | [คลิป 1/4] | [คลิป 2/4] | [คลิป 3/4] | [คลิป 4/4]

  • ภาพบรรยากาศบูธ ICT Law Center ในงาน “3 Years ETDA Enabling Digital Economy”

    เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2557 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA ได้เปิดเวที “3 Years ETDA Enabling Digital Economy” เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 3 ปี แห่งการดำเนินงาน โดยในงานได้เชิญบุคคลสำคัญระดับประเทศ ผู้นำจากหน่วยงานและอ

ICT LAW CENTER  ขอเชิญร่วมทำแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าถึงข้อมูล ของ สพธอ.

    * ท่านมีความพึงพอใจในช่องทางการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับร่างกฎหมาย/คู่มือ/แนวปฏิบัติ ที่ สพธอ. จัดเตรียมไว้ มากน้อยเพียงใด