2016-05-12 14:20:54

How to write Thai place names in English เขียนชื่อสถานที่ไทยให้เป็นภาษาอังกฤษ...อย่างไรกันดี

Open Forum: ETDA ร่วมกับ NECTEC และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เปิดบ้านเชิญผู้สนใจเข้าร่วมหารือในหัวข้อ

How to write Thai place names in English

เขียนชื่อสถานที่ไทยให้เป็นภาษาอังกฤษ...อย่างไรกันดี

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2559 ตั้งแต่เวลา 14.00 – 16.00 น.

ณ ห้อง Open Forum ชั้น 21 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ แกรนด์ อาคารบี ถนนพระรามเก้า กรุงเทพฯ

 

การสะกดชื่อที่อยู่และชื่อสถานที่ภาษาไทยให้เป็นภาษาอังกฤษนั้น มีหลายแนวทางที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน ได้แก่ การแปล การใช้ตามความนิยม และการทับศัพท์ ซึ่งการทับศัพท์นั้นยังสามารถแบ่งออกได้เป็น การทับศัพท์แบบถ่ายอักษร และการทับศัพท์แบบถ่ายถอดเสียง จึงทำให้เกิดความลักลั่นในการใช้งาน กล่าวคือ ชื่อสถานที่ไทยชื่อเดียวกัน แต่หน่วยงานต่างๆ กลับสะกดเป็นภาษาอังกฤษไม่ตรงกัน ทำให้ชาวต่างชาติ เข้าใจว่าเป็นคนละสถานที่กัน และก่อให้เกิดปัญหาในการกำหนดรหัสสถานที่ UN/LOCODE ตามมาตรฐาน ของสหประชาชาติ และการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเปิดประชาคมอาเซียน ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล ดังนั้น จึงเป็นเรื่องดีที่หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจ จะได้มีโอกาสมาหารือร่วมกัน เพื่อกำหนดแนวทางในการเขียนชื่อที่อยู่และชื่อสถานที่ ภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษให้เป็นรูปแบบเดียวกัน

13.30 – 14.00 น.  ลงทะเบียน ทานขนม จิบกาแฟ

14.00 – 14.15 น.  ปัญหา ความจำเป็น และผลกระทบ ในการจัดทำหลักเกณฑ์การเขียนชื่อที่อยู่และชื่อสถานที่ ไทยเป็นภาษาอังกฤษ

- ดร.อุรัชฎา  เกตุพรหม (ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐาน สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์)

- ศุภโชค จันทรประทิน (ผู้จัดการส่วนงานกลยุทธ์มาตรฐาน สำนักมาตรฐาน สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์)

14.15 – 14.45 น.  หลักเกณฑ์การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยเป็นตัวโรมัน แบบถ่ายอักษร และแบบถ่ายถอดเสียง

- แสงจันทร์ แสนสุภา (ผู้อำนวยการกองธรรมศาสตร์และการเมือง สำนักงานราชบัณฑิตยสภา)

- นฤมล กรีพร (นักวรรณศิลป์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา)

14.45 – 15.15 น.  ผลการวิเคราะห์และจำแนกรูปแบบ การเขียนชื่อที่อยู่และชื่อสถานที่ไทยเป็นภาษาอังกฤษ ของหน่วยงานต่างๆ

- มณฑิกา บริบูรณ์ (นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)

15.15 – 15.45 น.  หารือเรื่องหลักเกณฑ์ที่ควรใช้ และการจัดลำดับความสำคัญของหลักเกณฑ์

- ดร.กฤษณ์ โกสวัสดิ์ (นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความ หมาย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)

15.45 – 16.00 น.  อภิปรายและสำรวจความคิดเห็น

- ดร.กฤษณ์ โกสวัสดิ์ (นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความ หมาย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)

 

สามารถติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่ Email: [email protected]

หมายเหตุ : แต่งกายตามสบายและสุภาพ (Casual), กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลง

 

 

แผนที่

กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

ICT LAW CENTER  ขอเชิญร่วมทำแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าถึงข้อมูล ของ สพธอ.

    * ท่านมีความพึงพอใจในช่องทางการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับร่างกฎหมาย/คู่มือ/แนวปฏิบัติ ที่ สพธอ. จัดเตรียมไว้ มากน้อยเพียงใด