คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารราชการ พ.ศ. 2540

พระราชบัญญัติฉบับนี้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ และยังคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการไปพร้อมกัน โดยได้ให้นิยามคำว่า “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” ไว้ในมาตรา ๔ ว่าหมายถึง “ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้นหรือ มีหมายเลข รหัส สิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคนหรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย”

สาระสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้มี 3 ประการ ได้แก่ 

        1)  กำหนดหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย 

        2)  กำหนดข้อห้ามในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล โดยกำหนดให้ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของข้อมูลก่อนที่ทำการเปิดเผยข้อมูลนั้น เว้นแต่เป็นกรณีตามที่กฎหมายบัญญัติ 

        3)  ให้สิทธิแก่เจ้าของข้อมูลในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของตนเองที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ และให้สิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องตามความเป็นจริง อีกทั้งให้สิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร


ICT LAW CENTER  ขอเชิญร่วมทำแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าถึงข้อมูล ของ สพธอ.

    * ท่านมีความพึงพอใจในช่องทางการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับร่างกฎหมาย/คู่มือ/แนวปฏิบัติ ที่ สพธอ. จัดเตรียมไว้ มากน้อยเพียงใด