ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล

ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

เหตุผล:

ตามที่ได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ขึ้น เพื่อรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลเช่นเดียวกับการทำธุรกรรมโดยวิธีการทั่วไป ซึ่งต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

โดยเมื่อกฎหมายได้ใช้บังคับมาในระยะหนึ่งก็พบว่า บทบัญญัติในบางมาตราได้ก่อให้เกิดข้อจำกัดหรืออุปสรรคจากการดำเนินการในทางปฏิบัติ เช่น การจัดทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือและการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อจำกัดในการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกำกับดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมดูแลได้เท่าที่ควร เป็นต้น อีกทั้งในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีการทำสัญญาระหว่างคู่สัญญาที่อยู่ต่างรัฐกันโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยจึงจำต้องปรับปรุงกฎหมายภายในเพื่อลดอุปสรรคจากความแตกต่างทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายระหว่างประเทศสมาชิก โดยการปรับปรุงหรือยกร่างกฎหมายให้มีความสอดคล้องกับหลักการตามกฎหมายแม่แบบหรืออนุสัญญาความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับนานาประเทศ (United Nations Convention on the Use of Electronic Communications in International Contracts) ที่โดยหลักเกณฑ์ในอนุสัญญาดังกล่าวเปรียบเสมือนการปรับปรุงของกฎหมายแม่แบบว่าด้วยการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Model Law on Electronic Commerce1996) และกฎหมายแม่แบบว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Model Law on Electronic Signatures 2001) ที่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทยใช้เป็นแนวทางในการยกร่างกฎหมาย เพื่อให้มีความทันสมัยรองรับธุรกรรมรูปแบบใหม่และครอบคลุมถึงการทำสัญญาในทางระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เสนอร่าง ฯ ต่อคณะรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาอนุมัติเห็นชอบในหลักการร่างกฎหมายเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร:


ICT LAW CENTER  ขอเชิญร่วมทำแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าถึงข้อมูล ของ สพธอ.

    * ท่านมีความพึงพอใจในช่องทางการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับร่างกฎหมาย/คู่มือ/แนวปฏิบัติ ที่ สพธอ. จัดเตรียมไว้ มากน้อยเพียงใด